...

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network หมายถึง "เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยใช้โปรโตคอล (Protocol ) เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : โปรโตคอล

  • IPX/SPX เป็นโปโตคอลที่ใช้ในเครือข่ายที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการ Netware
  • NetBIOS และ NetBEUI เป็นโปรโตคอลที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาร่วมกับ บริษัท ไมโครซอฟต์ ใช้ในเครือข่ายที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการWindows เวอร์ชั่นต่าง ๆ
  • TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในระบบอินเทอร์เน็ตและมีแนวโน้มว่าจะถูกนำมาใช้แทนโปรโตคอล อื่น ๆ ในอนาคต

ประวัติอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่าง สหรัฐกับสหภาพโซเวียตที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่อวกาศ อเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหารชื่อ ARPANET ขึ้น

เมื่อภาวะสงครามคลายลงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆทั่วโลก
มีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาที่รวดเร็ว ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Povider)

ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516) มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต กับมหาวิทยาลัยลอนดอนประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่น ๆ อีกหลายเครือข่ายทั้งในยุโรปและอเมริกาเช่น NSFNET, CSNET , EUNET เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ “เครือข่ายของเครือข่าย”

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย

  • โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
  • เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
  • สายโทรศัพท์ทองแดง

baud ตั้งชื่อตามวิศวกรและผู้ประดิษฐ์โทรเลขชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า เดิมใช้วัดความเร็วของการส่งโทรเลข ปัจจุบันใช้วัดความเร็วของการถ่ายทอดสัญญาณของโมเด็ม (modem)

ต่อมาเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และบริษัท UUNET นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นผู้เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย

หลังจากนั้นรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้โครงการ (IDP)ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมาในปี พ.ศ. 2531 ทำให้เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่ายไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet

นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง

ปัจจุบัน UUNet เป็น ISP ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเครือข่ายทั่วสหรัฐ ให้บริการ connection ตั้งแต่ 28.8 Kbps ถึง 155 Mbps
และยังเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรป เอเชีย และ ออสเตรเลียด้วย รวมๆ แล้ว UUNet บริการ Internet ถึง 114 ประเทศ

ยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสาย (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบัน การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ต ในอดีตการเข้าถึงโครงข่ายใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน ผ่านโมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรฯเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection )เป็นวิธีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้สายโทรศัพท์ และติดต่อผ่านโมเด็ม(Modem) เพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ ISP (Internet Service Provider)

ปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps ภายใต้ข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก

ยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายทองแดง เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายลวดทองแดง ให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่ออื่นๆนอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศได้

ต่อมาเทคโนโลยีไร้สายเริ่มแพร่หลายในวงการโทรคมนาคมโดยเริ่มจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และพัฒนาเป็น WISP หรือ Wireless ISP

สภาพตลาดบริการอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย

บริการบนอินเตอร์เน็ต
-World Wide Web เป็นเครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตจะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) คือ มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางเครือข่ายนี้ได้ ไม่ว่าเป็นบทความ ข่าว งานวิจัยข้อมูลสินค้า หรือบริการต่างๆ สาระบันเทิงประเภทต่างๆ รวมถึงฟังเพลงและชมภาพยนตร์
-โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser ) เป็นโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะทำงานโดยดึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML
-Microsoft Internet Explorer (IE) เป็นโปรแกรมที่จัดให้มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ windows ตั้งแต่ windows 95 เป็นต้นไป
-Plawan Browser สามารถใช้งานได้ดีในระดับเดียวกับเว็บบราวเซอร์ชั้นแนวหน้าอื่นๆ การใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
-โฮมเพจ เว็บเพจ และเว็บไซต์

  1. web page หน้าเอกสารที่เป็นกระดาษแต่ละหน้า
  2. home page หน้าแรกที่ผู้ใช้จะพบเมื่อเรียกเข้าไปยัง เว็บไซต์ใด
  3. Web Site โฮมเพจและเว็บเพจหลาย ๆ หน้าซึ่งเป็นของหน่วยงานเดียวกัน

-เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่แสดงผลในเว็บไซต์ ในรูปแบบของเอกสาร HTML

วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. เพื่อการสื่อสาร (communication) เช่น e-mail chat และ webboard
2. เพื่อข้อมูลข่าวสาร (information) เป็นลักษณะของการใช้งานสารสนเทศผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (www)
3. เพื่อความบันเทิง (entertainment) เช่น เว็บไซต์บันเทิง เกมส์คอมพิวเตอร์ การดูหนังฟังเพลง
4. เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ (business) เช่น เป็นช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แสดงสินค้า และให้บริการลูกค้า เป็นต้น

ระบบการแทนชื่อในอินเทอร์เน็ต การเรียกชื่ออินเทอร์เน็ต มี 3 ระดับดังนี้
1. IP Address (Internet Protocol Address) เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายบอินเทอร์เน็ต
2. DNS (Domain Name System) คือ ระบบการแทนหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยชื่อที่สื่อความหมายและเข้าใจได้าย
3. URL (Uniform Resource Locator)เป็นหลักการกำหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

-ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นภาษาในเชิงการบรรยายเอกสารแบบไฮเปอร์มีเดีย
-host แม่ข่าย , แม่งาน คอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ในอินเทอร์เน็ต

วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
*การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบต่างๆ
*การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection )
*ISDN (Integrated Services Digital Network)
*ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
*Cable Modem *Satellite *Leased Line
*WiFi *WiMax *Air card

โปรแกรมค้นหา (Search Engine) เป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ

  1. โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์ดัชนี (Index Search Engine) เป็นโปรแกรมค้นหาที่ใช้โรบอท สไปเดอร์ หรือ ครอเลอร์ เข้าไปสำรวจข้อมูลในส่วนที่ผู้จัดทำเว็บไซต์กำหนดให้เป็นคำค้น จากเอกสาร HTML ในเว็บต่างๆ
  2. โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ (Keyword Search Engine)เป็นโปรแกรมค้นหาทำหน้าที่เข้าไปอ่านหน้าของเอกสารของเว็บต่างๆแล้วนำคำสำคัญที่ปรากฏอยู่ในแต่ละหน้ามาจัดทำเป็นฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  3. โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine) โปรแกรมประเภทนี้ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่จะไปดึงเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ มาแสดงผล

บัญชีรายชื่อเว็บไซต์(Web Directory) เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อของเว็บอื่น ๆ มาจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาในเว็บไซต์นั้น ๆ

เทคนิคการค้นข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
1. คำที่ใช้ค้นเรียกว่า คำค้น (KEYWORD)
2. คำค้นควรให้ตรงประเด็น หรือ คำใกล้เคียง
3. เลี่ยงการใช้คำพูด ตัวเลขในการค้น ถ้าจำเป็นใช้ “..........”
4. การใช้เครื่องหมาย + และ –

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
(บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต : ยืน ภู่วรวรรณ)

อินทราเน็ต (INTRANET) เป็นการจำลองลักษณะของอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท พนักงานสามารถเข้ามาใช้งานได้ แต่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้

เอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

1.มูลเหตุ

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


2.วัตถุประสงค์
ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามตามยุคสมัย ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากมายทั่วโลก แต่ถ้าหากนำไปใช้ในทางมิชอบก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงซึ่งอาจประเมินค่ามิได้ หรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแก่ประชาคมโลก และได้เกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด หลายด้านเช่น หยุดการทำงาน (Interruption) ลักลอบข้อมูล (Interception) แก้ไขข้อมูล (Modification) และ สร้างข้อมูลปลอม (Fabrication) บนระบบเครือข่าย และการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบ รวมไปถึงการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่ว่าทางใดก็ตาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)” หรือที่บางประเทศเรียกว่า “กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ(Computer Misuse Law)” ขึ้น หรือต้องมีการปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้ทันสมัยเข้ากับการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่อ

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบขึ้นให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประเทศต่างๆ ที่พัฒนาและออกกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้บังคับแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร มาเลเซีย และ Council of Europe ได้ออก Convention on Cyber-Crime เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆใช้กฎหมายบังคับในทิศทางเดียวกัน
ส่วนสำหรับในประเทศไทย มีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT : Information and Communication Technology) ที่ประกาศใช้งานแล้วซึ่งประกอบด้วย พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อองค์กรของท่านจะได้ดำเนินการเตรียมตัวทางด้านการวางแผนปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรให้มีความพร้อมทางด้านการควบคุม ตรวจสอบ และติดตามการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ บนระบบเครือข่ายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดภายในองค์กรที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ขององค์กรต่อไป

3.สาระสำคัญของพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฐานความผิดที่เกี่ยวของกับคอมพิวเตอร์(มาตรา 5-16)
- การจัดเก็บขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (มาตรา 26)
- อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่(มาตรา 18-21)
- เขตอํานาจของศาลในการพิจารณาคดี(มาตรา 17)
- อํานาจของ รมต. ไอซีที (มาตรา 20)
- บทกําหนดโทษสําหรับพนักงานเจ้าหน้าที่(มาตรา 22-24)

- ฐานความผิดที่เกี่ยวของกับคอมพิวเตอร์
- การเขาถึงระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5)
- การลวงรู้ถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึง (มาตรา 6)
- การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 7)
- การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 8)
- การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 9)
- การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 10)
* การส่งสแปมเมล์ (Spam Mail) * (มาตรา 10/1)
- การกระทําความผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 11)
- การจําหน่าย / เผยแพร่ชุดคําสั่งเพื่อใช้กระทําความผิด (มาตรา 12)
- การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ / เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม (มาตรา 13)
- ความรับผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 14)
- การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ / ดัดแปลง (มาตรา 15)
-การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
- ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์?
- มาตรการในการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์?
- ระยะเวลาผ่อนผัน (Grace Period) ?
-อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ (มาตรา 18-21 และมาตรา 27)
- อํานาจของเจ้าพนักงานโดยเด็ดขาด
(1) มีหนังสือสอบถาม / ให้ส่งคําชี้แจงเป็นหนังสือ เอกสาร ข้อมูล
(2) เรียกข้อมูลเอกสารทางคอมพิวเตอร์
(3) ส่งให้ส่งมอบข้อมูล

- อํานาจของเจ้าพนักงานที่ต้องขออํานาจศาล
(4) ทําสําเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(5) ส่งให้บุคคลส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์

- เขตอํานาจของศาลในการพิจารณาคดี
- Arm’s length Doctrine
มาตรา17 ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร และ
(1) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็น ผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

- อํานาจของ ร.ม.ต.ไอซีที
มาตรา20ในกรณีที่การกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทําให้แพร่หลาย ซึ่ง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้
ในภาคสอง ลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัด
ต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มี
คําสั่งระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคที่
หนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการระงับการทําให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการ
ระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้


4.ข้อควรระวังในการใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นนิสิต/นักศึกษา

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ไดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท (๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปีมาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔) มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ (๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร