...

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network หมายถึง "เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยใช้โปรโตคอล (Protocol ) เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : โปรโตคอล

  • IPX/SPX เป็นโปโตคอลที่ใช้ในเครือข่ายที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการ Netware
  • NetBIOS และ NetBEUI เป็นโปรโตคอลที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาร่วมกับ บริษัท ไมโครซอฟต์ ใช้ในเครือข่ายที่ใช้ระบบ ปฏิบัติการWindows เวอร์ชั่นต่าง ๆ
  • TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในระบบอินเทอร์เน็ตและมีแนวโน้มว่าจะถูกนำมาใช้แทนโปรโตคอล อื่น ๆ ในอนาคต

ประวัติอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่าง สหรัฐกับสหภาพโซเวียตที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่อวกาศ อเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหารชื่อ ARPANET ขึ้น

เมื่อภาวะสงครามคลายลงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆทั่วโลก
มีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาที่รวดเร็ว ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Povider)

ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516) มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต กับมหาวิทยาลัยลอนดอนประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่น ๆ อีกหลายเครือข่ายทั้งในยุโรปและอเมริกาเช่น NSFNET, CSNET , EUNET เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ “เครือข่ายของเครือข่าย”

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย

  • โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
  • เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
  • สายโทรศัพท์ทองแดง

baud ตั้งชื่อตามวิศวกรและผู้ประดิษฐ์โทรเลขชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า เดิมใช้วัดความเร็วของการส่งโทรเลข ปัจจุบันใช้วัดความเร็วของการถ่ายทอดสัญญาณของโมเด็ม (modem)

ต่อมาเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และบริษัท UUNET นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นผู้เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย

หลังจากนั้นรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้โครงการ (IDP)ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมาในปี พ.ศ. 2531 ทำให้เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่ายไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet

นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง

ปัจจุบัน UUNet เป็น ISP ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเครือข่ายทั่วสหรัฐ ให้บริการ connection ตั้งแต่ 28.8 Kbps ถึง 155 Mbps
และยังเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรป เอเชีย และ ออสเตรเลียด้วย รวมๆ แล้ว UUNet บริการ Internet ถึง 114 ประเทศ

ยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสาย (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบัน การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ต ในอดีตการเข้าถึงโครงข่ายใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน ผ่านโมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรฯเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection )เป็นวิธีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้สายโทรศัพท์ และติดต่อผ่านโมเด็ม(Modem) เพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ ISP (Internet Service Provider)

ปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps ภายใต้ข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก

ยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายทองแดง เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายลวดทองแดง ให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่ออื่นๆนอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศได้

ต่อมาเทคโนโลยีไร้สายเริ่มแพร่หลายในวงการโทรคมนาคมโดยเริ่มจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และพัฒนาเป็น WISP หรือ Wireless ISP

สภาพตลาดบริการอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน มีผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย

บริการบนอินเตอร์เน็ต
-World Wide Web เป็นเครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตจะอยู่ในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) คือ มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางเครือข่ายนี้ได้ ไม่ว่าเป็นบทความ ข่าว งานวิจัยข้อมูลสินค้า หรือบริการต่างๆ สาระบันเทิงประเภทต่างๆ รวมถึงฟังเพลงและชมภาพยนตร์
-โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web Browser ) เป็นโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะทำงานโดยดึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML
-Microsoft Internet Explorer (IE) เป็นโปรแกรมที่จัดให้มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ windows ตั้งแต่ windows 95 เป็นต้นไป
-Plawan Browser สามารถใช้งานได้ดีในระดับเดียวกับเว็บบราวเซอร์ชั้นแนวหน้าอื่นๆ การใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
-โฮมเพจ เว็บเพจ และเว็บไซต์

  1. web page หน้าเอกสารที่เป็นกระดาษแต่ละหน้า
  2. home page หน้าแรกที่ผู้ใช้จะพบเมื่อเรียกเข้าไปยัง เว็บไซต์ใด
  3. Web Site โฮมเพจและเว็บเพจหลาย ๆ หน้าซึ่งเป็นของหน่วยงานเดียวกัน

-เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่แสดงผลในเว็บไซต์ ในรูปแบบของเอกสาร HTML

วัตถุประสงค์ในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. เพื่อการสื่อสาร (communication) เช่น e-mail chat และ webboard
2. เพื่อข้อมูลข่าวสาร (information) เป็นลักษณะของการใช้งานสารสนเทศผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (www)
3. เพื่อความบันเทิง (entertainment) เช่น เว็บไซต์บันเทิง เกมส์คอมพิวเตอร์ การดูหนังฟังเพลง
4. เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ (business) เช่น เป็นช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แสดงสินค้า และให้บริการลูกค้า เป็นต้น

ระบบการแทนชื่อในอินเทอร์เน็ต การเรียกชื่ออินเทอร์เน็ต มี 3 ระดับดังนี้
1. IP Address (Internet Protocol Address) เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายบอินเทอร์เน็ต
2. DNS (Domain Name System) คือ ระบบการแทนหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยชื่อที่สื่อความหมายและเข้าใจได้าย
3. URL (Uniform Resource Locator)เป็นหลักการกำหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

-ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นภาษาในเชิงการบรรยายเอกสารแบบไฮเปอร์มีเดีย
-host แม่ข่าย , แม่งาน คอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ในอินเทอร์เน็ต

วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
*การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบต่างๆ
*การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ ( Dial up connection )
*ISDN (Integrated Services Digital Network)
*ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
*Cable Modem *Satellite *Leased Line
*WiFi *WiMax *Air card

โปรแกรมค้นหา (Search Engine) เป็นโปรแกรมที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเว็บเพจจากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ

  1. โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์ดัชนี (Index Search Engine) เป็นโปรแกรมค้นหาที่ใช้โรบอท สไปเดอร์ หรือ ครอเลอร์ เข้าไปสำรวจข้อมูลในส่วนที่ผู้จัดทำเว็บไซต์กำหนดให้เป็นคำค้น จากเอกสาร HTML ในเว็บต่างๆ
  2. โปรแกรมค้นหาแบบศัพท์อิสระ (Keyword Search Engine)เป็นโปรแกรมค้นหาทำหน้าที่เข้าไปอ่านหน้าของเอกสารของเว็บต่างๆแล้วนำคำสำคัญที่ปรากฏอยู่ในแต่ละหน้ามาจัดทำเป็นฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  3. โปรแกรมค้นหาแบบหลายโปรแกรม (Meta Search Engine) โปรแกรมประเภทนี้ไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่จะไปดึงเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น ๆ มาแสดงผล

บัญชีรายชื่อเว็บไซต์(Web Directory) เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อของเว็บอื่น ๆ มาจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาในเว็บไซต์นั้น ๆ

เทคนิคการค้นข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
1. คำที่ใช้ค้นเรียกว่า คำค้น (KEYWORD)
2. คำค้นควรให้ตรงประเด็น หรือ คำใกล้เคียง
3. เลี่ยงการใช้คำพูด ตัวเลขในการค้น ถ้าจำเป็นใช้ “..........”
4. การใช้เครื่องหมาย + และ –

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท
(บัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต : ยืน ภู่วรวรรณ)

อินทราเน็ต (INTRANET) เป็นการจำลองลักษณะของอินเทอร์เน็ตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท พนักงานสามารถเข้ามาใช้งานได้ แต่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าใช้ได้

เอ็กซ์ทราเน็ต (EXTRANET)เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

1.มูลเหตุ

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


2.วัตถุประสงค์
ปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามตามยุคสมัย ซึ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากมายทั่วโลก แต่ถ้าหากนำไปใช้ในทางมิชอบก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงซึ่งอาจประเมินค่ามิได้ หรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแก่ประชาคมโลก และได้เกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด หลายด้านเช่น หยุดการทำงาน (Interruption) ลักลอบข้อมูล (Interception) แก้ไขข้อมูล (Modification) และ สร้างข้อมูลปลอม (Fabrication) บนระบบเครือข่าย และการปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบ รวมไปถึงการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่ว่าทางใดก็ตาม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)” หรือที่บางประเทศเรียกว่า “กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ(Computer Misuse Law)” ขึ้น หรือต้องมีการปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันให้ทันสมัยเข้ากับการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่อ

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบขึ้นให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยประเทศต่างๆ ที่พัฒนาและออกกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้บังคับแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร มาเลเซีย และ Council of Europe ได้ออก Convention on Cyber-Crime เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆใช้กฎหมายบังคับในทิศทางเดียวกัน
ส่วนสำหรับในประเทศไทย มีกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT : Information and Communication Technology) ที่ประกาศใช้งานแล้วซึ่งประกอบด้วย พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เพื่อองค์กรของท่านจะได้ดำเนินการเตรียมตัวทางด้านการวางแผนปรับปรุงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรให้มีความพร้อมทางด้านการควบคุม ตรวจสอบ และติดตามการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ บนระบบเครือข่ายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดภายในองค์กรที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบการใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ขององค์กรต่อไป

3.สาระสำคัญของพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฐานความผิดที่เกี่ยวของกับคอมพิวเตอร์(มาตรา 5-16)
- การจัดเก็บขอมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (มาตรา 26)
- อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่(มาตรา 18-21)
- เขตอํานาจของศาลในการพิจารณาคดี(มาตรา 17)
- อํานาจของ รมต. ไอซีที (มาตรา 20)
- บทกําหนดโทษสําหรับพนักงานเจ้าหน้าที่(มาตรา 22-24)

- ฐานความผิดที่เกี่ยวของกับคอมพิวเตอร์
- การเขาถึงระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5)
- การลวงรู้ถึงมาตรการป้องกันการเข้าถึง (มาตรา 6)
- การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 7)
- การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (มาตรา 8)
- การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ (มาตรา 9)
- การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 10)
* การส่งสแปมเมล์ (Spam Mail) * (มาตรา 10/1)
- การกระทําความผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 11)
- การจําหน่าย / เผยแพร่ชุดคําสั่งเพื่อใช้กระทําความผิด (มาตรา 12)
- การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ / เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม (มาตรา 13)
- ความรับผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 14)
- การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ / ดัดแปลง (มาตรา 15)
-การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
- ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์?
- มาตรการในการจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์?
- ระยะเวลาผ่อนผัน (Grace Period) ?
-อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ (มาตรา 18-21 และมาตรา 27)
- อํานาจของเจ้าพนักงานโดยเด็ดขาด
(1) มีหนังสือสอบถาม / ให้ส่งคําชี้แจงเป็นหนังสือ เอกสาร ข้อมูล
(2) เรียกข้อมูลเอกสารทางคอมพิวเตอร์
(3) ส่งให้ส่งมอบข้อมูล

- อํานาจของเจ้าพนักงานที่ต้องขออํานาจศาล
(4) ทําสําเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
(5) ส่งให้บุคคลส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ข้อมูลคอมพิวเตอร์
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์

- เขตอํานาจของศาลในการพิจารณาคดี
- Arm’s length Doctrine
มาตรา17 ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร และ
(1) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็น ผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

- อํานาจของ ร.ม.ต.ไอซีที
มาตรา20ในกรณีที่การกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทําให้แพร่หลาย ซึ่ง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว้
ในภาคสอง ลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัด
ต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคําร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอํานาจขอให้มี
คําสั่งระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งให้ระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคที่
หนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการระงับการทําให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการ
ระงับการทําให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้


4.ข้อควรระวังในการใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นนิสิต/นักศึกษา

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ไดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐ (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท (๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปีมาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔) มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ (๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

blog คืออะไร?

บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล

สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"

บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก

ความนิยม

บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น

จากความนิยมที่มากขึ้นทั้งให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อื่น

การใช้งานบล็อก

ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที

ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก

สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

บล็อกซอฟต์แวร์

บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้

ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

บล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จัก

รายชื่อบล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมพร้อมทั้งชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนาในวงเล็บ

ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก

รายชื่อผู้ให้บริการบล็อกที่มีชื่อเสียง

ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จัก

นอกจากนี้ทางเว็บที่นิยมของไทยอย่าง สนุก.คอม, กระปุก.คอม หรือผู้จัดการออนไลน์ ก็ได้มีการเปิดให้บริการบล็อก

ที่ม: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Youtube คืออะไร

เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยนำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวิดีโอ ซึ่งยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง เมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ ใช้จะสามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูด้วย แต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ ใส่ไว้ใน Youtube ได้ แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (youtube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) Youtube เติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006 กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว
สำหรับแฟนๆ ฟอร์เวิร์ดเมล ไม่ว่าจะเป็นกรุ๊ปเมลหรือเพื่อนๆ ฟอร์เวิร์ดมาให้ก็ตามน่าจะคุ้นเคยกับ YouTube กันบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีคลิปวิดีโอหลุดๆ จากดาราชื่อดังหรือดาราจำเป็นทั้งหลาย โดยมากไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ๆ เหล่านี้ก็จะเอาไปฝากไว้ในเว็บที่เขารับฝาก และ YouTube ก็เป็นแหล่งเก็บคลิปวิดีโอแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกอินเทอร์เน็ต

แต่เมื่อกูเกิ้ลตัดสินใจซื้อ YouTube ล่ะ มันมีความหมายอย่างไร อะไรอยู่เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการตัดสินใจครั้งนี้ เรามาค้นหากัน

YouTube เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ที่สำคัญทุกอย่างที่นี่ฟรี โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้ด้วย

YouTube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2005 โดยอดีตพนักงานของ PayPal สามคนด้วยกัน (ปัจจุบัน PayPal ถูก eBay ซึ้อไปเรียบร้อยแล้ว) ใน YouTube จะมีบริการแสดงภาพวิดีโอซึ่งอาศัยเทคโนโลยีของ Adobe Flash ในการแสดงภาพวิดีโอ (Adobe Flash หรือที่หลายๆ คนรู้จักในชื่อของ Macromedia Flash หรือ Flash (แฟลช) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นิยมมาก ในการทำภาพแอนิเมชั่นและการทำโปรแกรมเล็กๆ ที่ใช้สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมเว็บ โดยมีซอฟต์แวร์ ระบบ และอุปกรณ์หลายชนิดที่สามารถสร้างแฟลชและแสดงแฟลชได้ แฟลชจึงสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสร้างแอนิเมชั่น โฆษณา สร้างส่วนประกอบของหน้าเว็บ รวมภาพวิดีโอเข้าไปในหน้าเว็บ รวมถึงการสร้างพอร์ทัล)

ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบด้วย โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) ปัจจุบัน YouTube มีพนักงานเพียง 67 คนเท่านั้น

YouTube เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และได้รับความ สนใจเป็นอันมาก โดยเฉพาะการบอกแบบปากต่อปากที่ทำให้การเติบโตของ YouTube เป็นไป อย่างรวดเร็วมากจริงๆ YouTube มาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายต่อเนื่อง เมื่อมีการนำภาพวิดีโอช่วง Lazy Sunday ของรายการ Saturday Night Live มาแสดงบนเว็บ ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซี (NBC) ก็ได้เรียกร้องให้ทาง YouTube เอาคลิปวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหลายออกจากเว็บ ซึ่ง YouTube เองก็มีนโยบายที่จะไม่เอาคลิปที่ละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดงเช่นกัน นั่นทำให้ต่อมา You Tube กำหนดนโยบายที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องนี้ โดยกำหนดให้คลิปวิดีโอมีความยาวสูงสุดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นยกเว้นเป็นคลิปที่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นจากคนทำภาพยนตร์มือสมัครเล่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ YouTube ก็หาทาง ออกโดยการแบ่งภาพวิดีโอของตนเป็นชิ้นย่อยๆ แต่ละชิ้นยาวน้อยกว่า 10 นาทีแทน

อย่างไรก็ตาม กรณีพิพาทกับสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีก็ทำให้ YouTube เป็นข่าวและเพิ่มความดังมากขึ้นไปอีก และต่อมาเอ็นบีซีก็เห็นถึงประสิทธิภาพของ YouTube และตัดสินใจ ดำเนินยุทธศาสตร์ที่ต่างไปจากเดิม โดยประกาศให้ YouTube เป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์แทน โดย YouTube จะเป็นคนโฆษณารายการของเอ็นบีซีในรูปของวิดีโอคลิปในเว็บของ YouTube เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส (CBS) ที่เริ่มต้นเหมือนกับเอ็นบีซีและเลือกลงท้ายเหมือนกับเอ็นบีซีเช่นเดียวกัน

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา YouTube ประกาศว่าภายใน 18 เดือนข้างหน้านี้ พวกเขา จะสามารถเปิดให้เข้ามาดูมิวสิกวิดีโอทุกเพลงที่เคยสร้างขึ้นมาได้ และแน่นอน ทุกอย่างฟรีหมด โดยวอร์เนอร์มิวสิค (Warner Music) และอีเอ็ม ไอ (EMI) ได้ยืนยันแล้วว่าพวกเขาเป็นหนึ่งในบริษัทที่กำลังเจรจาในรายละเอียดกับ YouTube อยู่ และเดือนกันยายนที่ผ่านมา วอร์เนอร์มิวสิก และ YouTube ก็ได้เจรจาข้อตกลงที่ YouTube จะเป็นที่เก็บมิวสิกวิดีโอทุกเพลงที่วอร์เนอร์มิวสิค ผลิตขึ้นมา โดยพวกเขาจะแบ่งรายได้จากโฆษณา กัน นอกจากนี้ใครก็ตามที่สร้างคลิปวิดีโอเพื่อแสดงบน YouTube ก็สามารถนำเพลงของวอร์เนอร์มาใช้เป็นซาวด์แทร็กต์ได้ โดยไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด

9 ตุลาคมที่ผ่านมา ซีบีเอสรวมถึงยูเอ็มจี (UMG-Universal Music Group) และโซนี่บีเอ็มจี (Sony BMG) ก็ตัดสินใจที่จะแสดงงานของตนบน YouTube เช่นกัน

ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทันที เมื่อกูเกิ้ล ประกาศเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าตกลงตัดสินใจเข้าซื้อ YouTube ด้วยมูลค่า 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนหุ้น อย่างไรก็ตาม YouTube ก็ยังคงดำเนินกิจกรรม ของบริษัทไปตามปกติ โดยเป็นอิสระจากการควบคุมของกูเกิ้ล โดยกูเกิ้ลมองว่า YouTube เป็นชุมชนออนไลน์ทางด้านวิดีโอเพื่อความบันเทิง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีการเติบโตรวดเร็วที่สุด ในขณะที่กูเกิ้ลมองตัวเองว่าเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญ ทางด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการสร้างโมเดลใหม่ทางด้านการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต การรวมกันของสองบริษัทนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีขึ้นและเข้าใจได้มากขึ้น สำหรับผู้ใช้ที่สนใจในการอัพโหลด การดูวิดีโอ และการแชร์ภาพวิดีโอ รวมถึงการนำเสนอโอกาสใหม่ๆ สำหรับผู้เป็นเจ้าของ ข้อมูล (Content) ที่เป็นมืออาชีพที่จะนำเสนองานของพวกเขาไปสู่คนวงกว้าง

เมื่อมองถึงโมเดลการสร้างรายได้ของ YouTube นั้นโมเดลธุรกิจของ YouTube จะอาศัยการโฆษณาเป็นหลัก นักวิเคราะห์ทางอุตสาหกรรม บางคนเห็นว่า YouTube มีค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน (running cost) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง YouTube ต้องการใช้แบนด์วิธซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ดังนั้นจึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อตัวบริษัทในทำนองว่าจะเหมือนๆ กับบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต หลายๆ แห่ง ที่ไม่มีโมเดลธุรกิจใดที่สามารถใช้งานได้ การใช้โฆษณาเริ่มเข้าปรากฏชัดเจนบนเว็บไซต์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2006 ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา YouTube ได้เริ่มใช้ Google AdSense ซึ่งเป็นโปรแกรมบริหารจัดการโดยกูเกิ้ลในการคำนวณรายได้จากโฆษณาที่ปรากฏในเว็บไซต์นั้นๆ แต่ YouTube สุดท้ายก็หยุดใช้ AdSense ในที่สุด นักวิเคราะห์บางคนคิดคำนวณว่า YouTube อาจจะมีรายได้มากถึงหลายล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ซึ่งก็จะทำให้ YouTube สามารถสร้างรายได้สุทธิได้มากมายในแต่ละเดือน

แต่เมื่อกูเกิ้ลเข้ามาซื้อ YouTube ไป การเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นกับ YouTube อย่างแน่นอน ในอนาคตอันใกล้แม้จะมีการออกมาบอกว่า YouTube จะได้รับอิสระในการบริหารจัดการก็ตามที แน่นอนว่าระบบการจัดการรายได้ โดยเฉพาะการกำหนดโมเดลการสร้างรายได้ใหม่ๆ ในเว็บไซต์ของ YouTube จะต้องเกิดขึ้น แต่ที่เราพอจะวางใจได้ในฐานะคนใช้งานและคนใช้บริการเว็บไซต์ YouTube ก็คือ ทุกอย่างน่าจะยังคงฟรีต่อไปอีก เพราะที่ผ่านมาการให้บริการของกูเกิ้ลก็เป็นในลักษณะให้บริการฟรีเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการสร้างโมเดลธุรกิจที่อิงกับการอาศัยของฟรีเป็นตัวกำหนดตลอดมา

เมื่อมองถึงวงการบันเทิง การที่กูเกิ้ลเข้าครอบครอง YouTube จะเป็นการเพิ่มช่องทางในการแข่งขันในธุรกิจบันเทิงที่สำคัญยิ่ง ที่ผ่านมาจะเห็นการเริ่มเคลื่อนไหวที่ชัดเจนของยักษ์ใหญ่ในวงการอินเทอร์เน็ตในการเปิดให้บริการภาพยนตร์รวมถึงรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เริ่มจะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ การประกาศเข้าเทกโอเวอร์ของกูเกิ้ลครั้งนี้จึงเป็นจิ๊กซอว์ที่เข้ามาเติมเต็มการวาดภาพอนาคตของกูเกิ้ลในวงการบันเทิงที่ให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ความเคลื่อนไหวในการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดสินค้าบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นเพลง ภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ ที่มีบริษัทในวงการอินเทอร์เน็ตเข้าไปเกี่ยวข้องแบบเกาะติดมากขึ้นจึงดุเดือดเลือดพล่านในระดับที่คนเฝ้าดูอย่างเราๆ ไม่สามารถกระพริบตาได้ สิ่งที่จะต้องมองต่อไปก็คือ คู่แข่งของกูเกิ้ล จะว่าอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งในธุรกิจอินเทอร์เน็ตด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นยาฮูและไมโครซอฟท์ แต่ยังรวมถึงคู่แข่งรายอื่นๆ อย่างในวงการมือถือและวงการสื่อสารมวลชน เป็นต้น

กูเกิ้ลชิงความได้เปรียบครั้งสำคัญโดยเฉพาะการเข้าครอบครองกิจการ YouTube ที่จะเป็นบันไดสำคัญในการเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดบันเทิงในอนาคต YouTube ที่มีการเติบโตอย่าง รวดเร็วด้วยโมเดลธุรกิจที่เหมือนกับการสร้างทำโฮมวิดีโอในสมัยก่อนแต่อาศัยช่องทางอินเทอร์เน็ตในการสร้างความนิยมอย่างรวดเร็ว กูเกิ้ลและ YouTube จึงเป็นการจับคู่ทางธุรกิจที่น่าสนใจที่สุดคู่หนึ่งในปีนี้ และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง เชิงโครงสร้างของวงการบันเทิงในอนาคตอย่างแน่นอน

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ส่วนใหญ่จะรู้จัก และชื่นชอบเว็บไซต์รวมคลิปวิดีโออย่าง YouTube ซึ่งก่อนหน้านี้ นิตยสารคอมพิวเตอร์.ทูเดย์ได้จัดทำเป็นเรื่องเด่นประจำฉบับที่ 291 ปักษ์แรกเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ล่าสุดเว็บไซต์แชร์วิดีโออันดับหนึ่งของโลกได้ถูกแกะรอยสถิติโดยเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ วอลสตรีท เจอนัล ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลคร่าวๆ ว่า ขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้จัดเก็บวิดีโอทั้งหมดเป็นเท่าไร อัตราการเติบโต กิจกรรมของผู้ใช้ ตลอดจนคำยอดฮิตที่ใช้เป็นชื่อไตเติลวิดีโอ เราลองมาดูรายละเอียดของตัวเลขสถิติเหล่านั้นกันดีกว่า

- YouTube มีวิดีโอทั้งหมดมากกว่า 6 ล้านคลิป โดยอัตราการเพิ่มจำนวนคลิปวิดีโอ 20% ต่อเดือน

- คลิปวิดีโอทั้งหมดจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บถึง 45 เทอราไบต์ หรือเทียบเท่ากับความจุของฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ตามบ้านรวมกัน 5,000 ครัวเรือน

- หากคุณต้องการดูวิดีโอทั้งหมดใน YouTube จะต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 9,305 ปี

- สำหรับคอนเท็นต์ที่เปิดให้บริการจะมีค่าแบนด์วิดธ์คิดเป็นเงินหลายล้านเหรียญฯ ต่อเดือน

- วิดีโอคลิปในเซ็คชั่น most popular จะมีเปอร์เซ็นต์ของแทรฟฟิกการเข้าชมสูงมากเป็นพิเศษ

- คำว่า “dance”, “love”, “music” และ “girl” ถูกใช้เป็นชื่อไตเติลของวิดีโอมากที่สุด

ด้วยขนาด และต้นทุนในการให้บริการฟรีของ YouTube ทำให้หลายคนสงสัยว่า อนาคตของเว็บไซต์แห่งนี้จะเป็นอย่างไร นักวิเคราะห์บางรายก็ทำนายว่า มันจะปิดตัวเองไปในที่สุด เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะค่าแบนด์วิดธ์ที่ใช้ในการส่งข้อมูล บางรายคาดว่า ไมโครซอฟท์ ยาฮู หรือบริษัทยักษ์ใหญ่จะเข้ามาโอบอุ้มในที่สุด แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น คำถามที่ยังไม่มีคำตอบนั่นคือ รายได้จะมาจากไหน? (แม้กระทั่งบิลเกตส์เองก็เคยให้ทรรศนะว่า เขาเองก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน) เพราะวิธีที่จะหาเม็ดเงินหลายล้านเหรียญฯ ต่อเดือนจากรายได้โฆษณาบนเครือข่ายไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ที่มา http://www.oknation.net/blog/akeyannawa/2009/05/20/entry-1

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มาตราฐาน TQF


กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(TQF)
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ระดับคุณวุฒิ ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระกับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้ ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้

หลักการสำคัญของ TQF
1. เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการวัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม
2. มุ่งเน้นที่ Learning Outcomes ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต
3. มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน
4. เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี
5. มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใด ๆ ของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้ในสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดหลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายโดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิตซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจเป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง
6. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ TQF นอกจากจะให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของ TQF ตามที่เสนอข้างต้นแล้ว มีวัตถุประสงค์อื่นที่สำคัญอีก ดังนี้
1. เพื่อเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชา หรือแต่ละคุณวุฒิ
2. เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเอง โดยบัณฑิตในสาขาสาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯ มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้น ๆ
3. เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations) ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข้งและความพร้อมในการจัดการศึกษา

โครงสร้างและองค์ประกอบของ TQF
1. ระดับคุณวุฒิ (Levels of Qualifications)
2. มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ของคุณวุฒิของประเทศไทย
3. มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิ
4. ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละคุณวุฒิ
5. จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรและระยะเวลาในการศึกษา
6. การกำหนดชื่อคุณวุฒิ
7. การเทียบโอรความรู้หรือประสบการณ์

1. ระดับคุณวุฒิ (Levels of Qualifications)
ระดับที่ 1 อนุปริญญา (3 ปี)
ระดับที่ 2 ปริญญาตรี
ระดับที่ 3 ประกาศนียบัตรบัณฑิต
ระดับที่ 4 ปริญญาโท
ระดับที่ 5 ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ระดับที่ 6 ปริญญาเอก

2. มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ของคุณวุฒิประเทศไทยมีอย่างน้อย 5 ด้าน
ดังนี้
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Morals)
2. ด้านความรู้ (Knowledge)
3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills)
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility)
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical, Communication and Information Technology Skills) ในบางสาขาวิชาอาจกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ให้มีมากกว่า 5 ด้านก็ได้ เช่น บางสาขาวิชา เน้นทักษะของการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ก็จะเพิ่มมาตรฐานผลเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย (Domain of Psychomotor Skills) หรือบางสาขาวิชาต้องการใช้บัณฑิตของสาขาวิชามีมาตรฐานผลการเรียนรู้มากกว่าหรือพิเศษกว่าบัณฑิตในสาขาวิชาอื่นก็สามารถกำหนดเพิ่มเติมได้

3. มาตรฐานผลการเรียนรู้ของระดับที่ 2 ปริญญาตรี
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถจัดการปัญหาทางด้านจริยธรรมและวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ดุลยพินิจทางค่านิยม ด้วยวิถีทางที่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างสอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ แสดงออกถึงพฤติกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางค่านิยมและการจัดลำดับความสำคัญ แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ และบูรณาการได้อย่างสมดุลเหมาะสมระหว่างวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลและวัตถุประสงค์ของกลุ่ม เป็นอย่างที่ดีต่อผู้อื่น มีภาวะผู้นำในการทำงาน ในกลุ่มต่าง ๆ ในครอบครัว และชุมชน
2. ด้านความรู้ มีองค์ความรู้ในสาขา/สาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ รู้หลักและทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน ตระหนักในองค์ความรู้และทฤษฎีในสาขาวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ที่เรียนในหลักสูตรวิชาชีพมีความคุ้นเคยกับพัฒนาการล่าสุดฝนระดับแนวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขา/สาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ ในหลักสูตรที่เตรียมนักศึกษาเพื่อปฏิบัติงานวิชาชีพ นักศึกษาจะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ เทคนิค ข้อบังคับ รวมถึงวิธีการปรับปรุงให้ทันตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3. ด้านทักษะทางปัญญา มีความสามารถในการทำวิจับ เข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล ค้นหาแนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่กว้างขวาง และประยุกต์ข้อสรุปเพื่อแก้ไขปัญหาและข้อโต้แย้งที่แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำจากภายนอก สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนและเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงองค์ความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ภาคปฏิบัติและผลกระทบที่ตามมาจากการตัดสินใจ สามารถประยุกต์ทักษะและความเข้าใจอันถ่องแท้เหล่านี้ในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสาขา/สาขาวิชาที่เรียนสำหรับหลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษาสามารถใช้กระบวนการปฏิบัติงานที่ทำอยู่เป็นประจำได้อย่างเหมาะสม และแยกแยะสถานการณ์ที่ต้องการการแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ พร้อมกับนำเอาความรู้ความเข้าใจในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้เพื่อสนองตอบต่อสถานการณ์เช่นนั้น

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีส่วนช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในกลุ่มที่มีสถานการณ์ไม่ชัดเจน และต้องการนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการดำเนินการ แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องการความสนใจและกล่าวถึงปัญหาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อศึกษาปัญหาและข้อโต้แย้งแล้ว สามารถระบุเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมเป็นประจำในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและความคิด


4. ลักษณะของหลักสูตรคุณวุฒิระดับที่ 2 ปริญญาตรี
หลักสูตรระดับปริญญาตรี ต้องออกแบบมาเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในสาขา/สาขาวิชาอย่างกว้าง ๆ เน้นให้รู้ลึกในบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การพัฒนาและผลการวิจัยล่าสุด นักศึกษาควรตระหนักถึงความรู้และทฤษฎีในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ปริญญาตรีเป็นคุณวุฒิพื้นฐานสำหรับการเข้าสู่อาชีพในสาขาต่าง ๆ ที่ใช้ทักษะความชำนาญสูง และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นหลักสูตรจะต้องพัฒนาผู้เรียนทั้งความรู้ และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติในวิชาชีพ และพื้นฐานความรู้ภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี และการวิจัยที่จำเป็นต่อการศึกษาด้วย

5. จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรและระยะเวลาในการศึกษา เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

6. การกำหนดชื่อคุณวุฒิ เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดชื่อปริญญา

7. การเทียบโอนความรู้หรือประสบการณ์ เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ และเรื่อง ข้อแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีในการเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ

ความคิดเห็นของ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
ที่มา http://www.academic.nu.ac.th/content_view.php?n_id=42&img=&action=view